แซนโฎนตา


แซนโฎนตา พิธีบูชาบรรพบุรุษในวันสารทเดือนสิบของชาวไทยเขมร




ปีนี้ตรงกับวันที่ 8-9 ตุลาคม 2561

แซนโฏนตา เป็นประเพณีมาแต่งแต่บรรพบุรุษ สืบสานวัฒธรรมอันดีงามมา
เป็นประเพณีที่เราได้รู้จักบรรพบุรุษมากขึ้น

  ประเพณีวันสารทของชาติต่าง ๆ นับเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่ทำให้ครอบครัวและเครือญาติได้กลับมาพบหน้ากัน เพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เฉกเช่นเดียวกับ "วันสารทไทย", "วันสารทจีน" และในวัฒนธรรมของชาวเขมรก็มีประเพณี "วันสารทเขมร" หรือที่เรียกกันว่า "ประเพณีแซนโฎนตา" ซึ่งชาวเขมร รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับประเพณีนี้เป็นอย่างยิ่ง

ความหมายของแซนโฎนตา 

คำว่า "ไง" หมายถึง วัน คำว่า "แซน" หมายถึง การเซ่นไหว้ การบวงสรวง คำว่า "โฎน" หมายถึง ย่าหรือยาย คำว่า "ตา" หมายถึง ปู่หรือตา ดังนั้นประเพณีนี้จึงหมายถึง การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นวันสารทเดือนสิบของชาวเขมร


พิธีแซนโฎนตา สำคัญอย่างไร
          ในช่วงเวลานี้ ลูกหลานชาวเขมรที่ไปทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ จะเดินทางกลับมาหาครอบครัวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ 

          ทั้งนี้ ชาวเขมรมีความเชื่อว่า เมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประตูยมโลกจะเปิด เพื่อให้ผู้รับกรรมที่อยู่ในนรกได้เดินทางมาเยี่ยมญาติได้ ชาวเขมรจึงจัดทำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ในตอนเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 และพอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะนำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เรียกว่า "วันเบ็นตูจ" โดยเชื่อว่าผีจะออกมาจากยมโลกได้ 15 วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม จากวันเบ็นตูจนับไปอีก 15 วัน (นับจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10) จะตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี คือ "วันเบ็นทม" ซึ่งเป็นวันที่ประกอบพิธีแซนโฎนตา 

          การประกอบพิธีแซนโฎนตา แต่ละบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ ทั้งอาหารคาว-หวาน ผลไม้ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน เซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน ประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน และประกอบพิธีกรรมที่วัด โดยการทำเช่นนี้เพื่อให้บรรพบุรุษรับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้บ่วงกรรมที่มีบรรเทาลง ซึ่งชาวเขมรยึดถือประเพณีนี้สืบทอดกันมาอย่างยาวนานด้วยความเชื่อที่ว่าถ้าในยุคของตนได้แซนโฎนตาให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเหมือนกัน เพื่อให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไปไม่สิ้นสุด 

          หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 สาเหตุเป็นเพราะมีความเชื่อว่า ผีบรรพบุรุษที่ถูกปล่อยมาในวันนั้นต้องเดินทางมาไกล และเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย และทรมานจากการรับกรรมอยู่ในนรก 

          เมื่อมาถึงโลกมนุษย์ก็จะอยู่ที่วัด รอคอยว่าญาติหรือลูกหลานจะมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้หรือไม่ หากเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติหรือลูกหลานนำอาหารจำนวนมากมาทำบุญที่วัด บรรพบุรุษก็จะเกิดความปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อถึงกำหนดวันที่ต้องกลับไปนรก ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จ มีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่เห็นลูกหลานเตรียมสำรับไว้ให้ ก็จะรู้สึกโศกเศร้า ผิดหวัง จนโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ ดังนั้นชาวเขมรจึงประกอบพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญ และปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนาน ของพี่น้องเชื้อสายเขมร ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรัก ความผูกพัน ความกตัญญูรู้คุณ ของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ และชุมชน โดยจะประกอบพิธีกรรม

ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นลูก หลาน ญาติ พี่น้องที่ไปประกอบอาชีพ หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้ หรือไกลจะต้องเดินทางกลับมารวมญาติ เพื่อทำพิธีแซนโฎนตา เป็นประจำทุกปี

แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง
โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ปู่ย่า ตายาย หรือ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ประเพณีแซนโฎนตา จึงหมายถึง ประเพณีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ที่นับได้ว่าเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยเชื้อสายเขมร มีการสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา มีดังนี้
1. การเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้
2. การเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน
3. การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน
4. การประกอบพิธีกรรมแซนโฏนตาที่บ้าน
5. การประกอบพิธีกรรมบายเบ็น
6. การประกอบพิธีกรรมที่วัด
(ประกอบพิธีการแซนโฏนตา บางท้องถิ่นอาจมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย)

* เบ็นตุ้ย หมายถึง สารทเล็ก
* เบ็นทม หมายถึง สารทใหญ่

ประเพณีแซนโฏนตา มีความเป็นมายาวนาน โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้นกำเนิดของแนวความคิดของประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบ่วงกรรมมีความบรรเทาการแผ่เมตตา สามารถอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ หรือผีต่าง ๆ ได้ และการแผ่เมตตายังสามารถส่งให้ผีได้หลุดพ้นจากบ่วงกรรมทั้งหลายได้ การอุทิศส่วนกุศลนั้นสามารถทำได้หลาย

วิธี ตั้งแต่การกรวดน้ำขณะทำพิธีแซนโฏนตาที่บ้าน การแผ่เมตตา การทำพิธีวันสารท แต่วิธีที่เชื่อว่าสามารถส่งส่วนบุญอุทิศส่วนกุศลได้ถึงผีหรือญาติผู้ล่วงลับแน่นอนคือ การกรวดน้ำ ขณะที่พระสวดบทยะถา นั่นเอง แต่การอุทิศส่วนกุศลทุกวิธีนั้น สิ่งที่สำคัญคือ จิตใจที่ แน่ว แน่เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดพลังงานสามารถส่งถึง ญา ติผู้ ล่วงลับได้ เบาบางลง จึงให้มีการจัด พิธี แซนโฏนตาขึ้น และให้มีการสืบ ทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุค ของตนได้แซนโฏนตา ให้แก่ ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตา ยาย พ่อแม่ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฏนตาให้ตามเหมือนกัน และออกกุศโลบายต่าง ๆ ให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไปไม่สิ้นสุด เช่น ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฏนตาและทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงิน มีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฏนตาก็จะโกรธ และสาปแช่งญาติ หรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพฝืดเคืองไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีกรรมแซนโฏนตามาทุกปีจนถึงบัดนี้

* บายเบ็น หมายถึง ข้าวสารท, กระยาสารท
นอกจากประเพณีแซนโฏนตาจะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ จุดมุ่งหมายรองของการออกกุศโลบายของบรรพบุรุษ คือ การแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีของลูกหลานที่แสดงต่อผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อให้ลูกหลาน ญาติมิตรจะได้มารู้จักกันสร้างความสามัคคี สร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น